เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อาสวโคจฉกะ
สภาวธรรมที่กายวิญญาณที่รู้ได้แต่ชิวหาวิญญาณรู้ไม่ได้ หรือสภาวธรรมที่
ชิวหาวิญญาณรู้ได้แต่กายวิญญาณรู้ไม่ได้
สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่าจิตบางดวงรู้ได้ และที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้
จูฬันตรทุกะ จบ

3. อาสวโคจฉกะ
1. อาสวทุกะ
[1102] สภาวธรรมที่เป็นอาสวะ เป็นไฉน
อาสวะ 4 คือ
1. กามาสวะ
2. ภวาสวะ
3. ทิฏฐาสวะ
4. อวิชชาสวะ
[1103] บรรดาอาสวะ 4 นั้น กามาสวะ เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ตัณหาใน
กาม สิเนหาในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความลุ่มหลงในกาม ความหมกมุ่น
ในกาม ในกามทั้งหลาย นี้เรียกว่ากามาสวะ
[1104] ภวาสวะ เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ตัณหาในภพ
สิเนหาในภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความลุ่มหลงในภพ ความหมกมุ่นในภพ
ในภพทั้งหลาย นี้เรียกว่าภวาสวะ
[1105] ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระ
เป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว ตถาคต1 เกิด

เชิงอรรถ :
1 ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระ
พุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตตะ (ที.สี.อ. 65/108)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :281 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ อาสวโคจฉกะ
อีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิด
อีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ ดังนี้ ทิฏฐิ ความ
เห็นผิดป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความ
ผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความ
ถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือ
โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าทิฏฐาสวะ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่า
ทิฏฐาสวะ
[1106] อวิชชาสวะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้
ในส่วนอดีตและอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้
ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดย
รอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความทราม
ปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความหลุ่มหลง ความหลงใหล
อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา
ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าอวิชชาสวะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่เป็นอาสวะ
[1107] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน
เว้นสภาวธรรมที่เป็นอาสวะเหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และ
อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่
ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอาสวะ
2. สาสวทุกะ
[1108] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :282 }